ประวัติวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร จัดตั้งเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2520 โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนเกษตรกรรมพิจิตรตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการขยายการอาชีวศึกษาเกษตรให้กว้างขวางขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520 – 2524 โดยจัดตั้งโรงเรียนเกษตรกรรมขึ้นพร้อมกัน จำนวน 10 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่
ซึ่งสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามเป้าหมายของกรมอาชีวศึกษา ในปีการศึกษา 2522 โดยระยะเริ่มแรกได้เปิดสอนในระดับ ปวช., ปวช. (พิเศษ) และต่อมาได้เปิดสอนในระดับ ปวท. และปวส. ตามลำดับ ขณะเดียวกันได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมพิจิตร เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2524 และได้ขยายการเปิดสอนหลักสูตรนอกระบบขึ้น 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น และฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมเคลื่อนที่ ในปีการศึกษา 2530 ได้เปิดทำ การสอนหลักสูตรนอกระบบเพิ่มขึ้นอีกหลักสูตร (ปวช. พิเศษ) ตามโครงการ อศ.กช. โดยรับนักเรียนที่จบชั้น ป. 6 อายุระหว่าง 15 – 25 ปี ที่ขาดโอกาสเข้าศึกษาในภาคปกติ หลักสูตรดังกล่าวใช้เวลา 5 ปี และวันที่ 24 กันยายน 2539 ได้เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร
ขนาดและที่ตั้งวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 94 หมู่ที่ 6 ตำบลสามง่าม อำเภอ สามง่าม จังหวัดพิจิตร ติดถนนสายพิจิตร – กำแพงเพชร อยู่ห่าง อำเภอสามง่าม ประมาณ 1 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดพิจิตรประมาณ 15 กิโลเมตร มีพื้นที่รวม 523 ไร่
สภาพชุมชน เศรษฐกิจ สังคม การเมืองจังหวัดพิจิตร มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ คือ อำเภอเมืองพิจิตร ตะพานหิน ทับคล้อ บางมูลนาก โพทะเล โพธิ์ประทับช้าง สามง่าม วังทรายพูน สากเหล็ก บึงนาราง ดงเจริญ และวชิรบารมี มีพื้นที่รวม 5,020.59 ตารางกิโลเมตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร ตั้งอยู่ในอำเภอสามง่าม
สภาพทางเศรษฐกิจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ประมาณ 85 % ของผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน จะประกอบอาชีพการเกษตร หรือทำงานในภาคเกษตรกรรม โดยอาชีพทางเกษตรแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1.3.1 การปลูกพืช ซึ่งการปลูกข้าวทำรายได้เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเขียว และการทำสวนผลไม้
1.3.2 การเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่จะเป็นฟาร์มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ได้แก่ โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ เป็นต้น
1.3.3 การประมง จังหวัดพิจิตรเป็นแหล่งผลิตปลาน้ำจืดที่สำคัญมาก เนื่องจากมีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่านถึง 2 สาย แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม และมีบึงขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งประมงที่สำคัญ ได้แก่ บึงสีไฟทางด้านการศึกษา มีสถานศึกษาเปิดให้การศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอนุปริญญา ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน สถานศึกษาที่เปิดสอนในระดับอนุปริญญามี 4 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร วิทยาลัยสารพัดช่างพิจิตร วิทยาลัยการอาชีพโพทะเล และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร